วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

ปลาปักเป้า

อันดับที่ 4 ได้แก่ Puffer fish ตามปรกติปลาปักเป้าจะมีสภาพ เหมือนปลา ทั่วไป มีหนามสั้น หรือยาวแล้วแต่ชนิด หากถูกรบกวนจะพองตัวโตขึ้น มีรูปร่างคล้ายลูกโป่ง หรือลูกบอลลูน หรือคล้ายผลทุเรียนลูกกลม ๆมีหนามแหลม ๆ สั้นหรือยาวได้อย่างชัดเจน ทางด้านวิชาการได้จัดแบ่งปลาปักเป้าไว้ 2 วงศ์ ได้แก่Tetraodontidae ลักษณะปลาปักเป้า ในวงศ์นี้ จะมีฟัน 4 ซี่ มีผิวตัวค่อนข้างเกลี้ยง อีกวงศ์หนึ่งเรียกว่า Diodontidae ในวงศ์นี้ มีฟัน 2 ซี่ คล้ายจงอยปากนกแก้ว และมีหนามรอบตัว เห็นได้ชัดเจนกว่าชนิดแรก ในประเทศไทย มีปลาปักเป้าทั้งชนิดที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดและน้ำเค็ม รวมกันประมาณราว 20 ชนิด ปลาปักเป้าทะเล (marine puffer fish) มีชื่อเรียกต่างกันไป ได้แก่toad fish, globe fish, toado , swell fish, porcupine fish และ balloon fish เป็นต้น ปลาปักเป้าทะเลเป็นที่รู้จักดี และคุ้นเคยของชาวประมง ถ้าพบเห็นบนเรือลากอวน เขามักจะทำลายมันทิ้งหรือโยน มันกลับลง ไปในทะเล ในประเทศญี่ปุ่นเรียกปลาชนิดนี้ว่า ” fugu ” เนื้อปลาปักเป้าสดตามภัตตาคารใหญ่ ๆ มีราคาสูงมากเนื่องจากชาวญี่ปุ่นนิยมรับประทานกันมาก เนื้อปลาปักเป้าสดที่จำหน่ายจะต้อง เตรียมโดยผู้ที่มีความชำนาญเฉพาะเป็นอย่างดีเพื่อลดอันตรายจากพิษของปลาให้มากที่สุด โดยชาวญี่ปุ่นนิยมบริโภคปลาปักเป้าโดยทำเป็นปลาดิบ (Sushi) จนเป็นอาหารประจำชาติญี่ปุ่นที่ขึ้นชื่อเป็นที่รู้จัก แม้กระนั้นในช่วง 20 ปี ระหว่างปี ค.ศ. 1955-1975 มีผู้บริโภคเนื้อปลาปักเป้าเป็นพิษรวม 3,000 ราย ในจำนวนนี้ มีผู้เสียชีวิตถึงร้อยละ 51 เหตุผลหนึ่งที่ทำให้ เนื้อปลาปักเป้าเป็นที่นิยมของชาว ญี่ปุ่นก็คือเนื้อปลามีรสชาติที่วิเศษ หวาน กรุบ และอร่อยดี สำหรับประเทศไทย มีผู้ได้รับพิษ จากการ บริโภคปลาปักเป้าทั้งชนิดน้ำจืด และชนิดน้ำเค็ม ซึ่งมีรายงานทางการแพทย์บ้างเป็นครั้งคราว โดยเฉพาะรายงานผู้ป่วยในภาคอีสาน ชาวบ้านจะนำปลาปักเป้าที่จับได้จาก หนองน้ำ ลำธาร มาต้มหรือย่าง และแบ่งรับประทานกัน

วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

ปลาไหลมอเรย์

อันดับที่ 9 ได้แก่ ปลาไหลมอเรย์ มีอยู่ประมาณ 70 ชนิด ในประเทศไทยพบไม่ต่ำกว่า 13 ชนิด ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในทะเลอันดามัน ในอ่าวไทยพบน้อยมาก รูปร่างของปลาไหลมอเรย์ : ทุกตัวหน้าตาคล้ายกัน รูปร่างเหมือนปลาไหล ลำตัวยาว ผิวหนังเรียบหนา ลื่น ไม่มีเกล็ดปกคลุม ปากกว้าง มีฟันซี่เล็กสำหรับจับเหยื่อไม่ให้ดิ้นหลุดจากปาก ครีบหลัง ครีบหางและครีบก้นเชื่อมติดกัน ไม่มีครีบหู จุดเด่นของปลาไหลมอเรย์ คือ มีอวัยวะใช้รับกลิ่นหนึ่งคู่ที่ปลายปาก เรียกว่า ” Nostril ” มีลักษณะเป็นแท่งเล็กๆยื่นอยู่ตรงปลายปาก 2 แท่ง จมูกพวกนี้ไวต่อกลิ่นมาก โดยเฉพาะกลิ่นคาวแบบต่างๆ เช่น กุ้งบาดเจ็บ ปลาบาดเจ็บ หน้าตาน่ากลัวมีเขี้ยวแหลม อ้าปากเป็นระยะ หลายคนเข้าใจว่า พฤติกรรมดังกล่าวคือการอ้าปากขู่ แต่ความจริงแล้วนั่นคือส่วนหนึ่งของวิธีการหายใจ อาหารของปลาไหลมอเรย์ คือ กุ้งและปู เป็นพวกปลากินเนื้อ ซึ่งเป็นหนึ่งในปลาล่าเหยื่อสำคัญที่สุดออกหากินเวลากลางคืน จัดเป็นผู้ล่าสัตว์เล็กมากกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ของแนวปะการัง ในเวลากลางวันปลาไหลมอเรย์จะหลบอยู่ตามซอกโพรงโผล่แต่หัวยื่นออกมาเฝ้าระวังเหยื่อหรือศัตรู แม้รูปร่างจะน่ากลัว แต่ปลากลุ่มนี้ไม่ดุร้าย โอกาสที่จะโดนกัด มักเป็นช่วงผสมพันธุ์หรืออยู่ในโพรง เรามองไม่เห็นไปจับข้างโพรง จึงโดนกัด แม้ว่าปลาไหลมอเรย์จะไม่มีเขี้ยวพิษอย่างงูทะเล แต่เมือกในปากก็เป็นพิษอ่อนๆ การป้องกันและรักษา ถ้าพบปลาไหลอย่าเข้าใกล้ อย่าล้วงมือเข้าไปในโพรงหิน หรือซากเรือจม อย่าเล่นกับปลาไหลที่ไม่คุ้นเคย เมื่อถูกกัดจะเกิดบาดแผลลึกจากเขี้ยวของปลา ทำให้เลือดออกมาก และอาจหมดสติได้ ต้องนำผู้ป่วยขึ้นจากน้ำ ห้ามเลือด และรีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์โดยเร็ว แผลที่ถูกกัดมักมีขนาดลึกต้องรีบทำความสะอาดแผลให้ทั่วถึง ปลาไหลมอเรย์ ถือเป็นผู้ควบคุมปริมาณสิ่งมีชีวิตในแนวปะการังโดยมักพบตามหลืบซอกของโครงสร้างปะการัง ถ้าบริเวณใดไม่พบปลาไหลมอเรย์เลยแสดงว่าความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในบริเวณนั้นต่ำโดยเฉพาะกุ้ง ปู

ปลากระโทง



ปลากะโทงแทงเป็นปลาขนาดใหญ่ รูปร่างแปลกตรงที่ริมฝีปากบนยื่นยาวแข็งและแหลมเหมือนดังดาบ ปลากะโทงแทงใช้ดาบนี้เป็นอาวุธสำหรับพุ่ง
แทงศัตรู ปลากะโทงแทงมีครีบหลังยาวและใหญ่ตั้งขึ้นเหมือนใบเรือ เวลาว่ายอยู่ที่ผิวน้ำด้วยความเร็วครีบหลังจะโผล่ขึ้นเหนือน้ำและแล่นลิ่วไปดูเหมือนเรือใบแล่นอยู่ในทะเล ปลากะโทงแทงขาวตัวสีขาวเงินสันคลังโค้ง กินปลาหลายชนิดรวมทั้งปลาโอขนาดใหญ่ ปลากะโทงแทงดำขนาดใหญ่ที่สุด อาจยาวถึงเจ็ดเมตร ว่ายน้ำเร็วมาก ปลากะโทง
แทงทั้งสองชนิดนี้มีอยู่ในอ่าวไทยตอนล่างและในทะเลอันดามันปลากะโทงแทง




ปลาฉลามเป็นสัตว์ที่ดุที่สุด ชอบกัดกินคนและน่ากลัวที่สุด ได้แก่ ปลาฉลามขาว ซึ่งมีตัวใหญ่ว่ายน้ำได้รวดเร็วมาก ส่วนปลาฉลามเสือซึ่งตามตัวมีลายกับปลาฉลามหัวค้อน ซึ่งมีหัวที่แปลกประหลาดยิ่งกว่าปลาอื่น เพราะมีส่วนยื่นออกไปจากสองข้างแก้มก็เป็นปลาฉลามที่จะรี่เข้าใส่คนทันทีเมื่อมีโอกาส ปลาฉลามเป็นสัตว์กระดูกอ่อน มีความว่องไวมากเป็นพิเศษ มีหางใหญ่ตั้งสูงยิ่งกว่าปลาอื่นใด เวลาว่ายน้ำ ครีบหลังจะโผล่สูงขึ้นเหนือน้ำเป็นรูปสามเหลี่ยมมองเห็นได้อย่างชัดเจน
ปลาฉลามเป็นสัตว์ทะเลที่ทรหดอดทนอย่างยอดเยี่ยม สู้ไม่ถอย แม้ว่าจะได้รับบาดเจ็บ ความรู้สึกเกี่ยวกับการดมกลิ่นของปลาฉลามดีมาก
สามารถได้กลิ่นเลือดหรือปลาที่กำลังจะตายที่อยู่ห่างไกลออกไปหลายร้อยเมตรได้อย่างดีฟันฉลามมีลักษณะที่น่ากลัวมาก แต่บริเวณที่พบมาก ได้แก่ ในทะเลที่มีน้ำอุ่นและแถบ
ศูนย์สูตร
การป้องกันปลาฉลามที่ดุร้ายมิให้เข้ามากัดกินคนที่เล่นน้ำอยู่ที่ชายหาดในถิ่นที่มีปลาฉลามมาก อาจทำได้โดยใช้ตาข่ายตาใหญ่ ๆ ขึงกั้นในทะเล
ปลาฉลามที่พยายามว่ายเข้ามาที่ชายฝั่งจะติดอยู่ในตาข่ายนี้ทำให้จับตัวได้ง่าย ส่วนการป้องกันฉลามให้แก่ผู้ที่ลงปฏิบัติงานในทะเลลึก ทำโดยการฉีดสารที่มีกลิ่นเหม็นลงไปในน้ำทะเลรอบ ๆ ตัว ฉลามได้กลิ่นเหม็นนั้นก็จะไม่กล้ำกรายเข้ามาใกล้




http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%87%E0%B8%B9%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5

งูทะเลต่างจากงูบกตรงที่ตัวเล็กกว่าและมีหางแผ่แบนเหมือนใบพายใช้สำหรับว่ายน้ำ งูทะเลกินปลาเป็นอาหาร ส่วนมากมีท่าทางเชื่องช้า
ปกติชอบลอยตัวอยู่นิ่ง ๆ แท้ที่จริงเป็นงูที่มีพิษร้ายแรงถึงตาย พิษอยู่ที่เขี้ยวเช่นเดียวกับงูพิษทั่วไป งูทะเลมีมากในโซนร้อนย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปีหนึ่ง ๆ ชาวประมงไทยถูกงูทะเลกัดตายเป็นจำนวนมาก
ถิ่นที่อยู่ของงูทะเลส่วนใหญ่ได้แก่ปากแม่น้ำที่เป็นน้ำเค็มต่อกับน้ำจืด โดยจะนอนนิ่ง ๆ อยู่บนหาดเลน หรืออยู่ตามรูในโคลนเลน แต่ก็อาจเข้าไปอาศัย
หากินตามโพรงหินซอกหินในแนวปะการังได้ด้วย ดังนั้นเราจึงควรระมัดระวังตัวโดยไม่เดินเท้าเปล่าไปบนหาดเลนและไม่เดินลุยน้ำทะเลซึ่งมีลักษณะขุ่นตามริมฝั่งทะเลที่
เป็นโคลนเพราะอาจไปเหยียบมันเข้างูทะเลมีหลายชนิด เช่น งูคออ่อน งูไอ้งั่ว และงูปี่แก้วทะเล





แมงกะพรุนไฟ
สัตว์พวกแมงกะพรุนไฟ มีพิษที่เหล็กใน อยู่ที่บริเวณหนวดเส้นเล็ก ๆ ซึ่งจะปล่อยออกมาแทงผิวหนังของคน ทำให้ปวดแสบปวดร้อนไปนาน ผิวหนังบริเวณนั้นจะบวมเป็นผื่นแดง พอง แตก และแผลหายช้า ถ้าโดนมากคนไข้อาจถึงช็อก หายใจลำบาก จนถึงสิ้นสติตายได้
อาการ
อาการเฉพาะที่ เมื่อถูกหรือสัมผัสกับสัตว์ที่มีพิษเหล่านี้จะรู้สึกเจ็บ ปวดแสบปวดร้อน บริเวณที่ถูกจะมีสีแดงเข้ม บางครั้งเหมือนรอยไหม้ ประมาณ 20-30 นาที จะบวมนูนขึ้นเป็นทางยาวตามผิวหนัง ต่อไปจะเกิดเป็น Vesicle เล็ก ๆ หรืออาจเป็น Bleb ใหญ่ และแตกเป็นแผลเรื้อรัง กว่าจะหายกินเวลานานแม้ว่าตกสะเก็ดแล้วก็เกิดแผลใหม่อีก อาการที่เกิดขึ้นจะมีความรุนแรงแตกต่างกันไปสุดแล้วแต่ชนิดและอาการกระทบกระแทกตลอดจนบาดแผลที่ได้รับว่าอยู่ที่ส่วนใดของร่างกายและเนื้อที่มากน้อยเพียงใด พวกที่มีพิษน้อยก็จะรู้สึกคันๆ แสบร้อนเล็กน้อยแล้วก็หายไป พวกที่ทำอาการรุนแรง ได้แก่ พวกแมงกะพรุนไฟ พวกสาหร่าย พวกเรือรบปอร์ตุเกส พวกปะการังเขากวางแบน และพวกแอนีโมนส์ เป็นต้น บริเวณที่ถูกถ้าเป็นเนื้ออ่อน เช่น บริเวณขาอ่อน ตามซอกคอและหน้า อาการก็จะมาก
อาการโดยทั่วไป ชนิดที่ไม่มีพิษมาก อาจไม่มีอะไร บางชนิดจะมีอาการรุนแรงมาก เช่น พวกสาหร่าย แมงกะพรุนไฟ เรือรบปอร์ตุเกส พวกนี้จะมีอาการปวดอย่างรุนแรง ต่อมาประมาณ 30 นามี 1 ชั่วโมง จะมีชาตามมือ เท้าและกล้ามเนื้อหดเกร็ง ทำให้จุกเสียด หายใจไม่สะดวก ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อโดยทั่วไปและมีไข้ กว่าจะทุเลากินเวลา 24 ถึง 48 ชั่วโมง
ในรายที่รุนแรงและผู้ป่วยมีอาการแพ้มาก อาการกล้ามเนื้อเกร็งจะมีมากโดยทั่วไปทั้งร่างกาย อันตรายที่จะเกิดขึ้นก็คือ เกิดที่กล้ามเนื้อบริเวณลำคอ กล่องเสียง ทำให้หายใจไม่สะดวก มีน้ำเมือกออกมาในหลอดลม ถ้าอาการมากขึ้นผู้ป่วยเกิดอาการเขียวคล้ำ และในที่สุดเกิดหัวใจอ่อน เลือดไปถึงสมองได้น้อย เพ้อ พูดไม่ค่อยรู้เรื่อง ต่อไปแรงดันเลือดตก เหงื่อออกตัวเย็น ซ็อค และถึงแก่ความตายได้ ในบางรายอาจเกิด Anaphylactic shock ผู้ป่วยถึงแก่ความตายได้ภายในเวลา 10-15 นาที
การปฐมพยาบาล ให้ปฏิบัติดังนี้
1.) เมื่อถูกแมงกะพรุนไฟในตอนแรก ให้ใช้ทรายที่หาดนั้นถูบนผิวหนังเบาๆ หรือผ้าเช็ดตัวเช็ด
เพื่อขัดเอาน้ำเมือก ๆ จากตัวแมงกะพรุนไฟบนผิวหนังออกล้างด้วยน้ำทะเล ห้ามใช้น้ำจืด
2.) ให้ใช้พวกด่างอ่อน ๆ เช่นน้ำแอมโมเนีย หรือแอมโมเนียหอม หรือน้ำยา
โซดาไบคาบอเนต หรือน้ำปูนใสชุบปิดแผลนั้นไว้ หรือขยำต้นและใบผักบุ้งทะเลให้ได้วุ้นลื่นๆมาพอกแผล
3.) หลังจากนั้นใช้พวก แอนติฮิสตามีนครีม หรือพวกคอร์ติโคสเตอรอยครีม (เช่น เพร็ดนิโซโลนครีม ฯลฯ)
4.) ถ้ามีอาการปวดให้รับประทานยาแก้ปวด เช่นแอสไพริน เอ.พี.ซี. นำส่งโรงพยาบาล เพราะอาจมีอาการร้ายแรงอื่น ๆ ร่วมด้วย (ถ้ามีอาการมาก แพทย์อาจให้พวก 10% แคลเซียมกลูโคเนทเข้าเส้นช้า ๆ และยาอื่น ๆ ตามอาการ)
การป้องกัน
การทาน้ำมันตามตัว เช่น น้ำมันโอลีฟ (olive oil) จะช่วยกันไม่ให้เหล็กในแทงเข้าในผิวหนังได้ หรือการใส่เสื้อผ้าหุ้มร่างกายในการว่ายน้ำในย่านที่มีแมงกะพรุน จะเป็นการป้องกันที่ดีที่สุด เพราะเหล็กในของสัตว์เหล่านี้ไม่สามารถที่จะแทงทะลุผ้าเข้ามาได้




หอยเต้าปูน (Cone snail or cone shell)

จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมมอลลัสคา ชั้นแกสโทรโพดา เป็นสัตว์นักล่า พบได้ตามแถบแนวปะการัง เปลือกมีสีสันสดใส และมีลวดลายสวยงาม ดึงดูดสายตา แต่มีบางสายพันธุ์ที่สีของหอยเต้าปูนจะซ่อนอยู่ภายใต้เนื้อเยื่อพิเศษ ที่ยังไม่ทราบการทำงานที่แน่ชัด (Periostracum) บางชนิดในแถบทะเลเขตร้อน จะมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ มีมากกว่า 500 สปีชี่ส์ จัดเป็นสัตว์กินเนื้อ มักจะล่าหนอนทะเล ปลาเล็ก ๆ หอย หรือแม้กระทั่งหอยเต้าปูนด้วยกันเองเป็นอาหาร เนื่องจากเคลื่อนที่ได้ช้า จึงมีการพัฒนาอาวุธเฉพาะตัวขึ้นมาคือ เข็มพิษ (venomous harpoon) เพื่อใช้สำหรับล่าเหยื่อและทำให้เหยื่อหมดสติก่อนกลายเป็นอาหาร ที่มีความรวดเร็วสูง ซึ่งในสายพันธุ์ขนาดใหญ่ พิษของหอยเต้าปูนมีความรุนแรงมากพอที่จะฆ่าคนได้

หอยเต้าปูนเป็นสัตว์ที่มีลำตัวอ่อนนุ่ม มีเปลือกห่อหุ้มอยู่ภายนอกร่างกาย เพื่อเป็นการป้องกันอันตราย จากสัตว์อื่น ๆ ในท้องทะเล มีเข็มพิษเป็นอาวุธ พิษของหอยเต้าปูนเป็นที่สนใจของนักวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก เนื่องจากมีความซับซ้อนในโครงสร้างของพิษ อีกทั้งยังออกฤทธิหลากหลาย ทำให้ยากที่จะป้องกันได้ ซึ่งพัฒนาการนี้เองทำให้หอยเต้าปูนได้เปรียบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น สามารถทำให้เหยื่อเป็นอัมพาตชนิดเฉียบพลันได้ภายใน 1/200 วินาที ความเร็วในการจู่โจมอยู่ที่ 1/4 วินาที

หอยเต้าปูนสายพันธุ์ Conus geographus ที่รู้จักกันชื่อ หอยบุหรี่ (cigarette snail) มีเข็มพิษที่ร้ายแรงมาก ถึงกับมีคำกล่าวว่า หากใครถูกเข็มพิษของชนิดนี้เข้า จะมีชีวิตอยู่ได้เพียงช่วงเวลา ของบุหรี่ 1 มวน ในสายพันธุ์ของเขตร้อนที่มีขนาดใหญ่ เข็มพิษจะสามารถเจาะทะลุถุงมือหรือชุดว่ายน้ำได้ พิษของมันจะทำให้ ปวด บวม ชา ในกรณีที่ร้ายแรง จะทำให้กล้ามเนื้อเป็นอัมพาต สายตาพร่ามัว ระบบหายใจล้มเหลว ปัจจุบันยังไม่มียาชนิดใดจะช่วยเยียวยาหรือรักษาพิษของหอยเต้าปูนได้

พิษของหอยเต้าปูนมีชื่อว่า โคโนทอกซิน (conotoxins) เป็นหนึ่งในพิษที่ร้ายแรงที่สุดเท่าที่เคยมีการค้นพบ ที่ออกฤทธิต่อระบบประสาท ในหอยเต้าปูนแต่ละตัว จะสามารถสร้างพิษ ที่แตกต่างกันได้กว่า 100 ชนิด ซึ่งในพิษนี้จะมีสายโปรตีน (peptide) ที่สามารถยับยั้ง สารสื่อประสาทที่สำคัญหลายตัว ของสิ่งมีชีวิตได้ เมื่อสกัดเอาสายโปรตีนบางตัวออกมา นำมาวิจัยพัฒนาต่อ เป็นยาต่อต้านอาการเจ็บปวด ซึ่งมันจะไปหยุดยั้งเฉพาะความเจ็บปวดบางอาการเท่านั้น โดยที่ไม่ทำลายความรู้สึกทั้งหมด ในปัจจุบันสิ่งที่ใช้ระงับอาการเจ็บปวดคือ มอร์ฟีน แต่จากการทดลองพบว่า ยาที่สกัดจากพิษของหอยเต้าปูน มีประสิทธิภาพมากกว่ามอร์ฟีนถึง 1000 เท่า อีกทั้งยังสามารถใช้ได้ในอาการเจ็บปวดบางกรณี ที่มอร์ฟีนไม่สามารถระงับได้อีกด้วย

เเมงกระพรุน

3
10 อันดับ สัตว์ประหลาดที่น่ากลัวที่สุด
อันดับ 8 คือ แมงกระพรุนกล่อง(ตัวต่อทะเล) อาศัยอยู่ในน้ำตามแนวชายฝั่งของออสเตรเลียตอนเหนือและทั่วอินโดแปซิฟิก มีสีฟ้าอ่อน โปร่งใสเป็นแมงกระพรุนที่มีพิษร้ายแรงมาก เมื่อถูกต่อยพิษของมันจะตรงเข้าสู่หัวใจและระบบประสาท

สมาชิกในกลุ่ม

สมาชิกในกลุ่ม
  สราวุธ     น้อยสิน
กิตติภณ  ชิดเชื้อ
  ชินกร       ค้าของ
ศักดิ์นรินทร์ ขวัญดี